แนบท้ายหนังสือสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ที่ ศธ ๐๒๑๑.๕/
ลงวันที่ ๒๗ เดือน เมษายน
รายละเอียดเกี่ยวกับกิจการของโรงเรียนในระบบ โรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์
ส่วนที่ ๑ โครงการและแผนการดําเนินงาน
ประวัติย่อโรงเรียน
โรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์ ได้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนตามใบอนุญาตเลขที่ ๒/๒๕๒๕ ลง วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ โดยนายฮัจยีอําเคาะห์ อยู่เป็นสุข เป็นเจ้าของโรงเรียนตั้งอยู่เลขที่ ๔๑ ถนนสุขุมวิท ๑๐๑/๑ หมู่ที่ ๑ แขวงหนองบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร โรงเรียนได้ใช้พื้นที่บริเวณมัสยิดอันวาริซ ซุนนะห์ เป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ๑ หลัง ประเภทของโรงเรียนนอกระบบสอนวิชาอิสลามศึกษาและวิชาภาษา อาหรับ เวลาเรียนตั้งแต่เวลา ๐๘.๓๐ น. ถึงเวลา ๑๖.๓๐ น. สอนตั้งแต่ชั้นปีที่ ๑ ถึงชั้นปีที่ 4 รับนักเรียนชายหญิง ไปกลับและอยู่ประจํา โดยกําหนดอายุ ๑๕ ปีขึ้นไปในปีการศึกษาแบ่งออกเป็น ๒ ภาคเรียน ภาคต้นเปิดเรียน ตั้งแต่วันที่ ๑๖ พฤษภาคม ถึง ๑๑ ตุลาคม ภาคปลายตั้งแต่วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ถึงวันที่ 9 เมษายน ของทุกปี วันหยุดประจําสัปดาห์ คือ วันเสาร์และวันอาทิตย์ ต่อมา นายฮัจยีอําเดาะห์ อยู่เป็นสุข เจ้าของโรงเรียนได้ เสียชีวิตโดยมี นางมาเรียม อยู่เป็นสุข ทายาทผู้จัดการมรดก ทําหน้าที่เสมือนผู้รับใบอนุญาต ตามใบอนุญาตเลขที่ กน.๐๕๖/๒๕๔๘ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๕๕ และนายประเสริฐ อยู่เป็นสุข เป็นผู้จัดการและครูใหญ่ และใน ปี ๒๕๔๗ โรงเรียนได้รับใบขออนุญาตให้ใช้อาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น มีดาดฟ้า จํานวน ๑๓ ห้องเรียน มีความจุนักเรียนสูงสุด ๕๕๕ คน และอาคารประกอบคอนกรีตเสริมเหล็ก 4 ชั้น มีดาดฟ้า จํานวน ๕ ห้องใบอนุญาตเลขที่ กน.๔๖/๒๕๕๗ ลงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๗ โรงเรียนได้ใช้อาคารเรียนเลขที่ ๑๕/๒๘ ถนนสุขุมวิท ๑๐๑/๑ หมู่ที่ ๑ แขวงหนองบอน เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร เป็นสํานักงาน
ปี ๒๕๔๕ โรงเรียนได้รับใบอนุญาตให้แปรสภาพเป็นโรงเรียนเอกชนในระบบ เปิดสอนหลักสูตร การศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.๒๕๔๔ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๑ ถึง ม.๓) ในปีการศึกษา ๒๕๕๔ นางมาเรียม อยู่เป็นสุข ผู้ทําหน้าที่เสมือนผู้รับใบอนุญาต ได้โอนให้แก่นายประเสริฐ อยู่เป็นสุข เป็นผู้รับ ใบอนุญาตโรงเรียน ประเภทสามัญศึกษา ทําการสอนตั้งแต่ชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และในปีเดียวกัน โรงเรียนได้รับอนุญาตให้ขยายชั้นเรียนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ชั้น ม.๑ - ม.6 ใบอนุญาตเลขที่ กน.๐๔/๒๕๕๔ ลงวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ปี ๒๕๕๘ สํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้อนุญาตให้โรงเรียนเปลี่ยนแปลง รายการในตราสารจัดตั้ง (อช.๑) โดยขออนุญาตใช้อาคารเรียนคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น จํานวน ๑ หลัง จํานวน ๓๐ ห้องเรียน รวมอาคารเรียนเดิมเป็น ๔๓ ห้องเรียน ความจุสูงสุดของนักเรียนทั้งโรงเรียน จํานวน ๑,๕๓๕ คน
ตามหนังสือของ สช. ที่ ศธ ๐๒๑๑.๕/๕๗๘๒ ลงวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ และในปีเดียวกันนี้โรงเรียนได้แต่งตั้ง ให้ นายมะรอบี โดยหมะ เป็นผู้อํานวยการโรงเรียนแทน นายประเสริฐ อยู่เป็นสุข
ปี ๒๕๕๕ โรงเรียนได้แต่งตั้งให้ นายไฟโรส อยู่เป็นสุข เป็นผู้จัดการโรงเรียนแทนนายประเสริฐ อยู่เป็นสุข และแต่งตั้งให้นางสาวจิราภรณ์ มะหะหมัด เป็นผู้อํานวยการโรงเรียนแทน นายมะรอบี โดยหมะ
๑.๑ วิสัยทัน์
ปลูกฝังให้ผู้เรียนมีคุณธรรมควบคู่กับมีความรู้ในด้านวิชาการสามัญและศาสนา ให้มีความศรัทธามั่นใน ศาสนาที่ตนนับถือ ส่งเสริมการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์โดยการเล่นกีฬา เป็นผู้ที่สามารถทํางานและอยู่ใน สังคมร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
๑.๒ การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์การเรียนการสอนวัสดุและครุภัณฑ์ที่ต้องใช้ในกิจการโรงเรียนพร้อมด้วย ขั้นตอนและระยะเวลาในการดําเนินการ
โรงเรียนมีการเตรียมการและสํารวจพัสดุก่อนการใช้เป็นรายปี มีการวางแผนการจัดหา จัดซื้อ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ โดยสํารวจความต้องการใช้งานจากครูและเจ้าหน้าที่ มีการจัดทําทะเบียนคุม และการเบิกใช้ โดยเจ้าหน้าที่เป็นผู้ควบคุมโดยการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์บันทึกการดําเนินงาน สิ้นปีการศึกษามีการสรุปผล
รายงานทะเบียนคุมและการเบิกจ่ายพัสดุครุภัณฑ์ของโรงเรียน โดยปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการบริหารจัดการ
พัสดุของโรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์
๑.๓ แผนและขั้นตอนการดําเนินการในการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินสิทธิเหนือพื้นดิน
สิทธิเก็บกินหรือสิทธิการเช่าให้แก่โรงเรียน
ที่ดินที่ตั้งโรงเรียนสอนศาสนาศาสนูปถัมภ์ จํานวน 5 ไร่ ๑ งาน 50 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ ๑๒๓๓ และโฉนดที่ดิน เลขที่ ๒๑๕๖๑๘ ซึ่งเป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๒๕ จึงได้รับการยกเว้นการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินให้แก่โรงเรียน
๑.๔ แผนและขั้นตอนในการดําเนินการโอนเงินและทรัพย์สินอื่นซึ่งเป็นทุนนอกจากที่ดินให้แก่โรงเรียน
โรงเรียนได้ดําเนินการโอนเงินและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นทุนนอกเหนือจากที่ดินให้แก่โรงเรียนตามที่ พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. ๒๕๕๐ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่๒) พ.ศ. ๒๕๕๔ มูลค่าโดยรวมประมาณ
๑,๔๑๒,๕๔๐ บาท
|